วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า ยูกลีนา (Euglena)



สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า ยูกลีนา (Euglena)







ยูกลีนา (euglena) เป็นสัตว์เซลล์เดียวขยายพันธุ์ได้โดยวิธีแบ่งเซลล์ มีลักษณะเป็นรูปกระสวย หน้าป้าน ท้ายเรียว มีเยื่อหุ้มหนาเรียก เพลลิเคิล (Pellicle) มีช่องเปิดขนาดเล็ก เรียก ไซโตสโตม (Cytostome) เชื่อมต่อเซลล์เป็นร่องลึก เรียก ไซโตฟาริงซ์ (Cytopharynx) ตอนปลายจะพองออกมีลักษณะเป็นถุงเรียกว่า รีเซอวัว (Reservoir) บริเวณนี้ช่วงฐานจะมีแกรนูลในไซโตพลาสซึม เรียก ไคเนโตโซม หรือ เบลฟฟาโรพลาสต์ หรือ เบซอลบอดี(Kinetosome or Blephaloplast or Basal body) เป็นที่เกิดของแฟลเจลลัม โดยมี 2 เส้น เส้นยาวยื่นจากไซโตสโตม เพื่อใช้ในการเคลื่อนที่ , เส้นสั้นอยู่ภายในรีเซอวัว -มีคอนแทร็กไทล์แวคิวโอลลักษณะทรงกลมอยู่ทางด้านข้างของรีเซอวัว โดยมีแวคิวโอลขนาดเล็กล้อมรอบอยู่ ทำหน้าที่รวบรวมน้ำ และกำจัดน้ำโดยการหดตัว ทางรีเซอวัวมีจุดตาสีแดง (Eye spot or Stigma) ลักษณะเป็นรูปถ้วยอยู่ทางด้านข้างไซโตฟาริงซ์ ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของแสงส่งไปยังอวัยวะรับความรู้สึก
ตัวของยูกลีนาเป็นสีเขียว เนื่องจากมีคลอโรพลาสต์รูปไข่กระจายอยู่ในไซโตพลาสซึม เมื่ออยู่ในสภาพที่มีแสงจะดำรงชีวิตแบบโฮโลไฟติค อาหารสะสมเป็นพาราไมลอนกระจายในเซลล์ ถ้าอยู่ในสภาพที่ไม่มีแสงจะดำรงชีวิตแบบแซบโปรโซอิค โดยคลอโรฟิลล์จะสลายไป แต่ถ้ากลับมาอยู่ในสภาพที่มีแสงใหม่ ยูกลีนาจะสร้างคลอโรฟิลล์ขึ้นมาใหม่ แต่ไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้ เนื่องจากเกิดการกลายพันธุ์

4 ความคิดเห็น: