ใบความรู้

ใบความรู้ที่ 1
เรื่อง  ส่วนประกอบของกล้องจุลทรรศน์


               กล้องจุลทรรศน์ แบบใช้แสง (Light microscope)

            ส่วนประกอบของกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงธรรมดา

          ในปัจจุบันกล้องจุลทรรศน์มีลักษณะที่แตกต่างกันอย่างมาก ส่วนต่าง ๆของกล้องพอจะแยกออกได้ดังนี้
           กล้องจุลทรรศน์ ส่วนประกอบหลักของกล้องจุลทรรศน์ก็ยังมีหลักการคล้ายกัน คือ ประกอบด้วย ส่วนที่เป็นตัวกล้อง ส่วนที่ทำหน้าที่สำหรับรับแสง และส่วนที่ใช้ในการปรับภาพ
            ส่วนประกอบต่างๆ  ของกล้องจุลทรรศน์ ได้แก่
          ส่วนที่เป็นตัวกล้อง  ซึ่งประกอบด้วยส่วนต่างๆ คือ
1. ฐาน (base) เป็นส่วนที่ใช้วางบนโต๊ะ
2. แขน (arm) เป็นส่วนเชื่อมระหว่างตัวลำกล้อง (body tube) กับส่วนฐาน
3. ลำกล้อง เป็นส่วนที่ปลายด้านบน มีเลนส์ใกล้ตา (ocular หรือ eye piece) ส่วนปลาย
ล่างติดกับเลนส์ใกล้วัตถุ (objective lens) ซึ่งติดกับแผ่นหมุนได้ (revolving nosepiece)
4. แท่นวางวัตถุ(stage) เป็นแผ่นโลหะที่มีช่องวงกลมอยู่ตรงกลางเพื่อให้แสงจากด้านล่าง
ส่องขึ้นมาที่แผ่นสไลด์ จะไดเห็นวัตถุในแผ่นสไลด์ กล้องเก่า ๆ มักใช้โลหะแผ่นเล็ก ๆ 2 อันหนีบสไลด์ (spring clips) กดแผ่นสไลด์ให้ติดกับแท่นวัตถุ แต่กล้องรุ่นใหม่มักมีที่ยึดสไลด์ชนิดใช้มือหมุนเลื่อนแผ่นสไลด์ได้ โดยไม่ต้องจับแผ่นสไลด์เลื่อนโดยตรงเหมือนกล้องรุ่นเก่า ปุ่มเลื่อนสไลด์ (mechanical stage) นี้นอกจากใช้เลื่อนสไลด์ไปทางด้านหน้า ถอยหลัง ด้านซ้ายหรือด้านขวาแล้ว ยังมีสเกลติดกำกับไว้อีกด้วย
ส่วนทำหน้าที่รับแสง มีส่วนประกอบต่างๆ  ได้แก่
1.      กระจกเงา (mirror)  มีสองด้าน ด้านหนึ่งราบ  ด้านหนึ่งเว้า กระจกนี้อยู่ใต้
คอนเดนเซอร์ หมุนปรับได้รองทิศทางเพื่อรับแสดงให้สะท้อนเข้าคอนดนเซอร์กล้องสมัยปัจจุบันไมี่ใช้กระจก แต่ใช้หลอดไฟติดอยู่ที่ฐานกล้องแทน เนื่องจากการใช้แสงจากหลอดไฟสะดวกกว่าการใช้กระจกเงารับแสดง เพราะสามารถเพิ่มหรือลดความสว่างได้
2.      ที่ปรับแสง (Iris diaphragm) เป็นส่วนปรับแสงจากกระจกหรือหลอดไฟ  ซึ่งเป็น
แหล่งให้แสงกับวัตถุในแผ่นสไลด์ แสงอาจให้ผ่านไปมากหรือน้อยได้ตามต้องการ
3.   คอนแดนเซอร์ (condenser) เป็นเลนส์ที่ทำหน้าที่รวมแสง เพื่อเลื่อนให้ลำแสงตกบน
วัตถุในแผ่นสไลด์ได้มากน้อยตามความต้องการ โดยการเลื่อนเลนส์ ขึ้นลงได้ โดยมีปุ่มปรับเช่นกัน
4.  เลนส์ใกล้วัตถุ (objective lens) เป็นเลนส์นูนที่อยู่ใกล้กับแผ่นสไลด์หรือใกล้วัตถุ ปกติอยู่กับแป้นวงกลมซึ่งหมุนได้โดยมีเลนส์หลายขนานประมาณ 3-4 อัน เลนส์แต่ละอันมีตัวเลขบอกขนาดกำลังขยายติดไว้ด้วย เช่น  ´4, ´10, ´40 และ ´100
5.      เลนส์ใกล้ตา (eyepiece หรือ ocular lens) เป็นเลนส์นูนที่อยู่ส่วนบนสุดของกล้อง เพื่อใช้ตามองผ่านดูภาพที่เกิดจากวัตถุหรือแผ่นสไลด์ กำลังขยายของเลนส์ใกล้ตา เขียนอยู่ทางด้านบนของเลนส์ เช่น ´5, ´10, ´15 เป็นต้น กล้องบางชนิด มีเลนส์ตาอันเดียว (monocular) บางกล้องมีเลนส์ตา 2 อัน (เช่นกล้อง binocular) บางกล้องอาจมีที่สำหรับติดอุปกรณ์ถ่ายภาพ  หรือติดกล้องโทรทัศน์เพิ่มเข้าไปอีก

                         ส่วนที่ทำหน้าที่ปรับภาพ ได้แก่ ปุ่มสำหรับหมุนปรับภาพ (adjust ment wheel) เป็นตัวบังคับให้เลื่อนระยะระหว่างวัตถุกับเลนส์วัตถุให้พอเหมาะที่จะเห็นภาพได้ชัด ปุ่มชนิดนี้มี 2 ชนิด คือ ปุ่มปรับภาพหมุนเร็วหรืออาจเรียกว่า ปุ่มปรับภาพหยาบ (coarse adjustment wheel) ซึ่งใช้ปรับระยะระหว่างวัตถุกับเลนส์วัตถุ ให้เปลี่ยนอย่างรวดเร็วและปุ่มปรับภาพหมุนช้าหรืออาจเรียกว่าปุ่มปรับภาพละเอียด (fine adjustment wheel) โดยมีแกนจะเล็กกว่าปุ่มที่กล่าวมาแล้ว ทำให้ระยะระหว่างวัตถุกับเลนส์เปลี่ยนอย่างช้า ๆ ปุ่มนี้ใช้ปรับภาพเมื่อเลนส์วัตถุอยู่ใกล้ๆ แผ่นสไลด์ เพื่อเลื่อนระยะปรับให้ภาพชัดอย่างช้า ๆ


   

ใบความรู้ที่ 2
การใช้กล้องจุลทรรศน์

               การใช้กล้องจุลทรรศน์
                   ทุกครั้งที่นำกล้องจุลทรรศน์ออกมาจากกล่อง ควรใช้กระดาษเช็ดเลนส์เช็ดเลนส์กล้องทุกครั้ง สำหรับการเช็ดเลนส์ทุกครั้งต้องใช้กระดาษเช็ดเลนส์เท่านั้น กระดาษอื่นหรือวัสดุอื่นห้ามใช้เช็ดเลนส์ ปรับแสงสว่างให้ผ่านช่องของแท่นวางวัตถุเข้ากล้องให้มากที่สุดเพื่อจะได้เห็นวัสดุในแผ่นสไลด์ได้มากที่สุด
               การปรับภาพให้ชัดเจน
                   การปรับภาพให้ชัดเจน ครั้งแรกต้องใช้เลนส์ใกล้วัตถุหัวเล็กที่สุด ซึ่งมีกำลังขยายต่ำที่สุด โดยการหมุนแผ่นแป้นกลมที่มีเลนส์ใกล้วัตถุติดอยู่ให้เลนส์กำลัขยายตำนี้หมุนมาอยู่ในตำแหน่งตรงกับวัตถุพอดี
               ในขณะที่ใช้กล้องจุลทรรศน์ต้องปฏิบัติดังนี้
1.      การยกกล้องจุลทรรศน์ต้องใช้ทั้งสองมือยกกล้อง แต่มิใช่จะใช้แต่ละมือยกหนึ่งกล้อง
ทั้งสองมือจะต้องยกกล้องเดียวกัน โดยใช้มือหนึ่งจับที่แขน อีกมือหนึ่งช้อนใต้ฐานกล้องและยกกล้องในลักษณะตั้งกล้องตรง
2.      ไม่มองที่เลนส์ตาในขณะที่หมุนปุ่มเลื่อนเลนส์ใกล้วัตถุลง ต้องมองนอกเลนส์ใกล้ตา
โดยมองดูการเลื่อนลงของเลนส์ใกล้วัตถุเพื่อจะได้ไม่เลื่อนลงไปจนกระแทกแผ่นสไลด์
3.      ในการเช็ดเลนส์ทุกชนิด ใช้เฉพาะกระดาษเช็ดเลนส์เท่านั้น
4.      ในขณะปฏิบัติการใช้กล้องจุลทรรศน์ หากมีน้ำหกลงเปียกกล้องจุลทรรศน์จะต้องีบ
เช็ดกล้องทันที
5.      เมื่อวางแผ่นสไลด์สำเร็จต้องให้ด้านที่มีกระจกปิดแผ่นสไลด์อยู่ทางด้านบน หากเป็น
แผ่นสไลด์ที่กำลังเตรียมสด ๆ และมีน้ำอยู่บนแผ่นสไลด์จะต้องไม่เอียงกล้อง (เฉพาะกล้องรุ่นเก่าสามารถเอียงกล้องได้ แต่กล้องรุ่นใหม่ ๆ ส่วนใหญ่ไม่สามารถเอียงกล้องได้)
6.      เมื่อใช้งานกล้องจุลทรรศน์เสร็จแล้ว ก่อนจะนำกล้องไปเก็บควรทำความสะอาดเลนส์
ใกล้วัตถุด้วยกระดาษเช็ดเลนส์ หมุนปุ่มปรับภาพหยาบเพื่อเลนส์ใกล้วัตถุให้ห่างจากวัตถุ นำแผ่นสไลด์ออกจากแท่นวางวัตถุ เลื่อนเลนส์ใกล้วัตถุที่มีกำลังขยายต่ำสุดเอาไว้ในตำแหน่งตรงกับช่องแสงผ่านจากแท่นวางวัตถุ หรือในตำแหน่งที่ใช้ขยายวัตถุนั่นเอง จากนั้นเลื่อนเลนส์ใกล้วัตถุให้ลงมาต่ำสุด จัดกระจกเงาให้อยู่ในแนวตั้งฉากกับพื้น  ถ้ากล้องนั้นใช้หลอดไฟให้ปิดไฟและม้วนสายไฟให้เรียบร้อยแล้วนำกล้องจุลทรรศน์ เก็บเข้ากล่อง



หน่วยที่ใช้กับกล้องจุลทรรศน์ หรือที่ใช้วัดขนานของเซลล์มีดังนี้
               1  อังสตรอม (˚A)    = 10-7 มม=  10-10 เมตร
               1  นาโนเมตร (nm)   =  1 มิลลิไมโครเมตร (mu) = 10-9เมตร
                             =  10-6 มม=  10 อังสตรอม (˚A)     
               1  ไมโครเมตร (um) =  10-3 มม. = 10-6เมตร
                             =  104 อังสตรอม